วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เตรียมถังเพาะด้วงกว่างชน

เตรียมถังเพาะด้วงกว่างชน

เตรียมถังเพาะด้วงกว่างชน มาถึงตอนนี้เริ่มจากหาถังพลาสติก มีฝาปิดเจาะรู ใช้ถังสีก็ได้แต่ต้องล้างทำความสะอาดให้ดีที่สุด สีน้ำนะ  สีน้ำมันไม่แนะนำ  จะทำคอกปุ๋ยหมักก็ได้  ทำในบ่อซีเมนก็ได้แล้วแต่สะดวกจะหาอุปกรณ์มาได้ เมื่อเตรียมของเสร็จแล้วก็เอาส่วนผสมที่หมักไว้เป็นปุ๋ยไม่มีแก๊สแล้วมาตากแห้งอีก 1 รอบ แล้วทำให้ปุ๋ยไม่จับตัวเป็นก่อนทุบให้ละเอียดพอดีนำปุ๋ยเทลงถังเพาะ ประมาณ 3 ส่วน 4 ของถัง






กดปุ๋ยลงให้แน่นพอประมาณ จากนั้นนำด้วงกว่างตัวเมียที่ทำการผสมพันธุ์ไว้แล้ว 3 ครั้งมาปล่อยลงไป ตัดอ้อยใส่ไว้ให้ด้วงกว่างไว้กินด้วย ด้วงกว่างตัวเมียจะลงไปสัก  2-3 วันจะเริ่มวางไข่ พอหมดแรงจากการไปวางไข่ชุดแรกก็จะขึ้นมาหาอาหารกินช่วงเวลาที่กินอ้อยจะกินทั้งวันเพื่อสะสมพลังงาน และกลับลงไปวางไข่อีก 2-3 รอบจนกว่าไข่ในท้องจะหมด ด้วงกว่างตัวเมียจะยังไม่ตาย ยังมีชีวิตอยู่ได้อีกหลายวันจนกว่ามันจะหมดอายุไข ลักษณะของการลงไปวางไข่นั้นจะทำเป็นโพลงเล็ก ๆ ในปุ๋ยหมักและไข่ไว้
เสร็จแล้วก็กลบดินให้ไข่อยู่ข้างในนั้น และก็ย้ายไปวางไข่เป็นไปเรื่อย ๆ  หลังจากผ่านไป 7 วัน อยากรู้ว่าด้วงกว่างตัวเมียที่เพาะอยู่นั้นไข่เยอะไหม ทำการคุ้ยถังเพาะดู ค่อย ๆ ทำ หาช้อนพลาสติกตักออกเบา  ๆ จะพบไข่ด้วงกว่างจำนวนมาก ลักษณะจะเป็นทรงวงรีเล็ก ๆ สีขาว กระจายไปทั่วเต็มถังเพาะ  ไข่ที่ด้วงกว่างตัวเมียวางไข่ไว้จะประมาณ 30-100 ฟองตามค่าเฉลี่ย ตัวเล็ก กลาง ใหญ่ ด้วงกว่างตัวเมียตัวใหญ่ยิงไข่เยอะ ทำการกลบดินให้เหมือนเดิม นำไข่ฝังไว้บริเวณหน้าดินลึกลงไปสัก 1 เซ็น จะวางไว้บนปุ๋ยหมักเลยก็ได้ ไข่ออกมาเป็นตัวหนอนด้วงแน่นอน ส่วนที่ไม่ออกเป็นหนอนด้วงก็เกิดจากไข่ฝ่อ ไม่ได้รับอสุจิ ไขเน่า เกิดจากการคุ้ยดูแล้วเอาปลายช้อนไปจิ้มโดนไข่แตก ยุบ ทำให้ไม่สามารถเกิดเป็นหนอนด้วงได้

วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วิธีเตรียมอาหารหนอนด้วงกว่างชน

วิธีเตรียมอาหารหนอนด้วงกว่างชน

วิธีเตรียมอาหารหนอนด้วงกว่างชน เริ่มเข้าสู่กระบวนการเตรียมอาหารหนอนด้วงกว่างกันแล้ว หลังจากที่ได้คัดด้วงกว่างชนตามลักษณะใก้ลเคียงไว้แล้ว ต้องเตรียมอาหารหนอนด้วง ไว้ก่อน เจ้าหนอนด้วงกินจุกินน้อยตัวมันจะไม่ใหญ่ ต้องเตรียมอาหารหนอนด้วงไว้เยอะ ๆ วัตถุดิบที่จะเตรียมทำปุ๋ยหมักอาหารหนอนด้วง ก็จะได้จากธรรชาติเศษพืช ต่าง ๆ มาผสมกัน





ใบลำไยแห้ง 3 กระสอบ ขี้วัวแห้ง 3 กระสอบ ขี้เลื่อย 3 กระสอบ เปลือกถั่ว 3 กระสอบ แป้งสาลี 1 ถุง เริ่มจากไปเอาขี้วัวก่อน เอาที่แห้ง ๆ ถ้าไม่มีก็หาซื้อเอา ถุงล่ะ 30 บาท  ต่อไปกวาดใบลำไยแห้งรวม ๆ กันไว้เยอะ ๆ เอากระสอบไปใส่มาให้ได้ 3 ถุง หาแหล่งขี้เลื่อยถามชาวบ้านที่เขาตัดไม้มาผ่าเป็นแผ่นไม้ขาย หรือโรงเลื่อยง่ายสุด เอามา 3 กระสอบ เตรียมซื้อแป้งสาลีไว้ 1 ถุง และก็เปลือกถั่วส่วนมากช่วงนี้เปลือกถั่วหาง่าย เขาแกะเอาเมล็ดข้างในไปปลูก เหลือเปลือกมันไว้ก็อาสาเป็นเทศบาลเก็บไปทิ้งให้ นำส่วนผสมทั้งหมดเทรวมกันแบบผสมปูนคลุกเคล้าให้เข้ากัน พลิกกลับไปกลับมาโรยแป้งสาลีไปให้ทั่วกอง ผสมน้ำเข้าไปใส่น้ำพอชุ่ม ผสมจนเป็นกองปุ๋ยหมักใหญ่ ๆ ได้ 1 กอง คลุมกองปุ๋ยหมักไว้ด้วยพลาสติกที่เขาคลุมปลูกต้นกล้าคลุมไว้ 1 เดือนครึ่ง หาตาข่ายมาล้อมไว้ เพื่อป้องกันไก่ เข้ามาเขี่ย ข้อเสียจะเกิดแก๊สจากกองปุ๋ยหมักและส่งกลิ่นเหม็นมาก หลังจาก 1 เดือนครึ่งเราจะได้ปุ๋ยหมักที่เป็นอาหารหนอนด้วงกว่างอย่างดี แต่ก็ยังใช้งานยังไม่ได้ เกลี่ยปุ๋ยหมักออกจากกองกระจายออกไปให้ทั่วตากแดดทิ้งไว้สัก 1 อาทิตย์ให้ปุ๋ยหมักแห้งไม่ชื่น เราก็จะได้ปุ๋ยหมักอาหารหนอนด้วงกว่างแบบสมบูรณ์
เรื่องต่อไปเตรียมถังเพาะด้วงกว่างชน

วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การคัดสายพันธุ์ด้วงกว่างเพื่อเพาะพันธุ์

การคัดสายพันธุ์ด้วงกว่างเพื่อเพาะพันธุ์

การคัดสายพันธุ์ด้วงกว่างเพื่อเพาะพันธุ์ หลังจากที่เราไปหาด้วงกว่างมานานหลายวัน ด้วงกว่างที่เราคัดแยกไว้สำหรับเตรียมเพาะพันธุ์นั้น เรามาดูสิว่าลัษณะยังไงที่จะนำมาผสมพันธุ์




ลักษณะเด่นทางร่างกายภายนอกของด้วงกว่างตัวผู้ เน้นเป็นกว่างโซ้ง ตัวใหญ่ เขายาว ขาหน้ายาว ลำตัวกลมยาว ดูจากด้านข้างจะหนา ลักษณะวงเขาจะโค้งเข้าหากันอย่างเห็นได้ชัด หัวใหญ่ แก้มหน้าหนา เขาบนโค้งลงสวยงาม ส่วนเขาล่างต้องนอนราบพื้นไปแล้วไปโค้งงอตรงปลายเขา ยิ่งปลายเขาล่างคม หนา ยิ่งดี กว่างชนเวลาหนีบแรงบีบอัดจะไปอยู่ที่เขาล่าง เป็นส่วนใหญ่ ตรงกลางเขาล่างจะมีลักษณะเป็นนอเขาขึ้นมา นอเขายิ่งใหญ่ยิ่งดี เขาบนเป็นแค่ที่รับแรงหนีบ ความอึด ทน ของการต่อสู่ของด้วงกว่างชนเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ตัวที่เก่ง ๆ ฉลาดจะไม่ยอมเข้าแลกหน้าตรง ๆ จะเข้าซ้าย  ขวา  สลับกันเล่นหนีบคอวงนอก บ่อย ๆ ครั้งฝ่ายคู่ต่อสู้จะล้า และถอดหนี บางตัวชนจนเขาหัก หน้าแหกก็ยังไม่หนี ยังจะสู้ต่อ ลักษณะกว่างชนแบบนี้หายากมาก ส่วนมากจะได้มาต้องซื้อในราคาที่แพง หรือพอใจซื้อได้เท่านั้น ไปหาตามป่าจริง ๆ น้อยครั้งนักที่จะเจอ ลักษณะอีกแบบ คือด้วงกว่างชนตาสีขาว เป็นกว่างที่มียีนเผือก คล้าย ๆ ควายเผือกสีชมพูนั่นแหละ กว่างชนลักษณะนี้ คนในอดีตจะเรียกว่า พญากว่าง พบเห็นได้น้อยมาก เกือบสูญพันธุ์ ลักษณะภายนอก ทุกอย่างเหมือนกว่างชนปกติทั่วไป ลักษณะเด่นอยู่ที่ตา 2 ข้างจะเป็นสีขาว  ส่วนด้วงกว่างตัวเมีย หรือ กว่างอีลุ้ม ลักษณะภายนอกจะเห็นได้ชัด ตัวใหญ่ ยาว ขนาดเกือบเท่าด้วงกว่างตัวผู้ หากจะคัดจริง ๆ ก็ต้องหามา 2 ตัวแล้วทำการชนกันดู กว่างตัวเมียก็ชนกันได้ ลักษณะการชนก็จะงัดกันจากปากเล็ก ๆ ที่ไว้ดูดกินน้ำเลี้ยง ตัวไหนเก่งก็จะชนะ ดั่งในรูปจะเป็นด้วงกว่าง ที่คัดมาให้ใกล้เคียงกับลักษณะที่กล่าวไว้ เพื่อจะได้สายพันธุ์ที่ดี และเก็บด้วงกว่างตัวเมียเอาไว้ต่อยอดการพัฒนาสายพันธุ์ในปีต่อ ๆ ไป ลดเปอร์เซ็นกว่างกิ ให้เหลือน้อยลง บทความต่อไป จะมาดูวิธีเตรียมอาหารหนอนด้วงกว่างชนว่าทำกันยังไง

วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

หาด้วงกว่างจากต้นลำไย

หาด้วงกว่างจากต้นลำไย

เช้าวันนี้เราจะไปหาด้วงกว่างจากต้นลำไยกัน เมื่อสมาชิกทีมพร้อมเราก็มุ่งหน้าสู่สวนลำไยเป้าหมาย เดินทางกับมอร์ไซค์ได้สักพักก็มาถึงสวนลำไย เนื้อที่สวนประมาณ 2 ไร่ เต็มไปด้วย ต้นลำไยทั้งนั้น แต่ก่อนจะเข้าไปสวนลำไยชาวบ้านเขาก็ต้องขออนุญาติเจ้าของก่อน และบอกเจ้าที่หน่อย เรามาดี ไม่ได้มาร้ายอะไร ขอเข้าไปหาด้วงกว่างหน่อยนะ  แล้วเราก็เริ่มหาด้วงกว่างกัน



ต้นลำไยที่ไปหาด้วงกว่างเป็นต้นที่เจ้าของเก็บลำไยไปขายหมดแล้ว แต่ก็มีเหลือติดต้นบ้างไม่เยอะ ด้วงกว่างก็จะมาเกาะเม็ดลำไยกัดกินกัน หากสังเกตดี ๆ จะเห็นด้วงกว่าง เกาะกินกันหลายตัว ทั้งกว่างตัวเมีย ตัวผู้  ต่อจากนั้นก็ช่วยกันเคลียพื้นที่ใต้ต้นลำไย เพื่อจะได้เห็นด้วงกว่างชัด ๆ เวลาร่วงลงมา หลังจากที่เขย่าต้นลำไย  พอเขย่าเบา ๆ ด้วงกว่างก็เริ่มร่วง ลงมาก็ช่วยกันเก็บ และมองหาแต่กว่างโซ้งตัวใหญ่ ๆ พอเขย่าแรง ๆ ด้วงกว่างที่เกาะกินเม็ดลำไย หลายตัวก็พากันร่วงลงดิน ทั้ง กว่างกิ กว่างอีลุ้ม กว่างโซ้ง กว่างแซม เต็มพื้นดินใต้ต้นลำไยไปหมด เร่งมือ รีบเก็บด้วงกว่างใส่ตระกร้า และก็ย้ายไปต้นใหม่ต่อไปเรื่อย ๆ จนหมดสวนลำไย  วันนี้ได้ด้วงกว่างเยอะมากเทรวมกันได้ประมาณ 1 ถังน้ำ เดินทางกลับบ้านกัน จากนั้นก็คัดด้วงกว่างออกจากกัน ตัวไหนที่ไม่ผ่านการคัดก็แยกนำไปจำหน่ายต่อให้ชาวบ้านเอาไปใส่น้ำพริกบ้าง ทอดแกล้มเบียร์บ้าง แบ่งรายได้กันนิด ๆ หน่อย ๆ  ส่วนตัวที่คัดสวย ๆ ไว้ก็แบ่งกันไป จะเอาไปเล่น ขายต่อ ก็ไม่ได้ว่ากัน เพราะหาได้ทุกวัน รอบหน้าจะเป็นเรื่องการคัดกว่างชน ลักษณะดี เขาสวย ตัวใหญ่ ชนเก่ง ฉลาด อึด ทน และด้วงกว่างตัวเมียใหญ่ ๆ เพื่อนำไปเพาะเลี้ยงพัฒนาสายพันธุ์ด้วงกว่างชนต่อไป

หาด้วงกว่างจากต้นคามในป่า

หาด้วงกว่างจากต้นคามในป่า

วันนี้เราจะเดินทางไปหาด้วงกว่างจากต้นคามในป่ากัน ตื่นเช้ากันเหมือนเดิมตั้งแต่ตี 5 เตรียมของแพคมอร์ไซค์คู่ใจ มีตระกร้าใบเขียวไว้สำหรับใส่ด้วงกว่าง เติมน้ำมันรถใส่ชุดเข้าลุยป่า ออกเดินทางกัน ขี่รถไปตามเส้นทางเป้าหมายพื้นที่จุดนี้น้อยคนนักที่จะรู้ ซุ่มไว้ไม่อยากให้ใครมาทำลายแหล่งหาด้วงกว่างเรา 555  แต่คนแถวพื้นที่ก็รู้หมดแหละ อิอิ  พอไปถึงจุดหมาย ก็จอดรถในป่าต้นคามเลย จอดข้างทางเดี่ยวรถหาย ลืมบอกไปว่าลักษณะต้นคามนั้นจะเป็นพุ่มไม้ แตกกิ่งก้าน และใบเล็ก ๆ ส่วนมากจะอยู่เป็นกลุ่ม ๆ เป็นพุ่มสวยงาม เหมาะสำหรับ ด้วงกว่างที่มากิน







เดินเข้าไปสักพักก็เริ่มเจอ ตัวแรกเป็น กว่างกิ และกว่างอีลุ้ม กินอยู่ด้วยกันที่กิ่งต้นคาม ลักษณะของกิ่งที่กินอยู่จะไม่ใหญ่ขนาดเท่าปากกา ตัวเมียกินอยู่ใช้ปากดูดกินน้ำเลี้ยงก้านต้นคาม ตัวผู้ก็ดูดกินตรงข้ามกับตัวเมียเป็นภาพคู่รักที่โรแมนติกมาก แต่ก็จับใส่ตระกร้าทั้งคู่เลย เดินไปอีกนิดต้นคามใกล้ ๆ ก็เจอ อีกหลายตัว เก็บกันสนุก มองกวาดสายตาไปเรื่อย ๆ ตามต้นคามที่แวดล้อมอยู่ เป็นธรรมชาติที่สมบูรณ์ด้วงกว่างจึงมีเยอะ เกาะกินตามต้นคามเป็นจำนวนมาก เดินเก็บด้วงกว่างไป ลุ้นเหมือนกันว่าจะเจอด้วงกว่างตัวใหญ่ไหมสายตากวาดมองไป เจออยู่ 1 ต้น ที่ทำให้ตื่นเต้น กว่างโซ้งขนาดใหญ่ที่เราตามหามากินอยู่ต้นนี้เอง รีบเข้าไปมองดูลักษณะกว่าง ดูเขาบน ล่าง รีบเอามือถือมากดถ่ายรูปไว้ และบันทึกเป็นคลิปเก็บไว้ ได้กว่างโซ้งมา 1 ตัว ก็อยากจะได้เพิ่ม เพราะด้วงกว่างเวลาเกิดมันจะไล่อายุกัน มีด้วงกว่างสวย ๆ ตัวใหญ่ ๆ ได้มา 1 ตัว คู่เกิดของมันก็ต้องมีและก็หากินอยู่ใกล้ ๆ แถวนี้แน่นอน เดินหาไปเรื่อย ๆ ตามป่าแพะ ได้กว่างกิ บ้าง  กว่างแซมบ้าง กว่างตัวเมียตัวใหญ่ ๆ ก็เก็บคัดแยกไว้ต่างหากเพื่อนำมาผสมพันธุ์ เก็บไว้ต่อยอดปีหน้า เดินไปเรื่อย ๆ เริ่มหมดแรงพักกินน้ำ ชั่วโมงนั้นมีแต่น้ำอย่างอื่นไม่มีกินไม่ได้เอาไป  เดินไปจนจะสุดป่าต้นคามก็ไปเจอกว่างโซ้งอีกตัว ลักษณะเหมือนกว่างโซ้งที่ได้มาตัวแรก ฝาแฝดกันแหละน่าจะพ่อ แม่ ตัวเดียวกัน แต่ตอนออกจากดินมาหากินไกลกันหน่อย  วันนี้หมดป่าต้นคามที่ไปเดินเก็บด้วงกว่างล่ะ ได้ด้วงกว่างโซ้งป่า 2 ตัวก็คุ้มกับการเดินครั้งนี้ แถมได้กว่างกิ กว่างแซมอีกเป็นถังน้ำเลย เดินทางกลับบ้าน กลับมาถึงคัดกว่างกิกับกว่างอีลุ้มตัวเล็ก ๆ ออก เพื่อนำไปขายตัวล่ะ 2 บาท ได้ 200 กว่าตัว กว่างแซมที่ลักษณะใช้ได้ก็มัดขึ้นอ้อยขายตัวละ 50 บาท ขนาดก็ประมาณ 52-55 มิล ส่วนด้วงกว่างตัวเมียตัวใหญ่คัดไว้ได้ประมาณ 3-4 ตัว หายากเหมือนกันตัวใหญ่ ๆ ทีเด็ดก็ด้วงกว่างโซ้งที่ได้มา 2 ตัว วัดขนาดดู 62-63 มิล ราคาตัวล่ะ 300 บาท สวย ๆ เขาสวย ไม่มีตำหนิ ขา เล็บไม่เสีย ใหม่  สด  จากป่า  ขึ้นอ้อยมัดไว้รอลูกค้าที่ชอบด้วงกว่างมาอุดหนุน กว่างโซ้งไม่เกิน 1 วัน ลูกค้าก็จะมาเลือกดู ถูกใจก็ ซื้อไปตามราคา มีต่อรองบ้างหากซื้อหลายตัว แต่ก็ไม่พอขายส่วนมากจะเหมาเอาไปหมด คนไปหาแทบไม่เหลือไว้ให้เล่น

วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เดินทางหาด้วงกว่างต้นมะค่าริมถนน

เดินทางหาด้วงกว่างต้นมะค่าริมถนน

เช้าวันใหม่ตื่นกันตั้งแต่ ตี 5 เพื่อเตรียมตัวเดินทางกันไปหาด้วงกว่าง ณ เป้าหมายใหม่ ต้นมะค่าริมถนน  วันนี้จะไปเป็นกลุ่มกัน 4-5 คน หลังจากที่ไปปลุก เรียกคนในกลุ่มได้ครบ ตามจำนวนที่จะไป เตรียมสำพาระพร้อม ก็มุ่งหน้าสู่เป้าหมายที่กำหนดทันที มุงหน้าไปตามถนนเส้นทางต่อไปนี้จะมีต้น มะค่า ขึ้นตามริมถนนเยอะมาก มีทั้งต้นเล็ก ใหญ่  สลับกันไป  การเดินทางไปหาด้วงกว่างช่วงนี้ ฝนจะเริ่มตกถนนจะลื่นหน่อย แต่ก็ระมัดระวังตัวกันทุกคน เซฟตัวเองเพื่อไม่ให้เป็นภาระคนอื่น ขี่รถมอร์ไซค์กันไปเรื่อย ๆ จนถึงจุดหมาย




จอดรถเสร็จก็ไม่ต้องรอ คนที่ปีนต้นไม้เก่ง ๆ ก็รีบขึ้นไปต้นแรก ขนาดยังไม่ทันเขย่าต้นมะค่า แค่ปีนขึ้นไปด้วงกว่างก็เริ่มร่วงลงมาให้เก็บ ด้านล่าง 4 คนช่วงกันเก็บด้วงกว่างที่เริ่มร่วง จากแรกเขย่าต้นมะค่า ยิ่งเขย่าแรงด้วงกว่างก็ร่วงอย่างใบไม้ร่วงลงพื้น พากันเก็บกันอย่างสนุกสนาน  เก็บใส่ไว้ในตระกร้า เจอด้วงกว่างตัวใหญ่  กว่างโซ้งก็เก็บแยกไว้อีกตระกร้า กว่างกิ  กว่างอีลุ้ม  ก็อีกตระกร้า  กว่างอีลุ้มตัวขนาดใหญ่ ๆ ก็เก็บแยกไว้อีกตระกร้า  เพื่อนำมาเพาะพันต่อ  ต้นแรกด้วงกว่างหล่นหมดแล้ว ก็จะย้ายไปต้นต่อไปเรื่อย ๆ จนหมด ต้นมะค่าริมถนน  เก็บได้ไม่หมด บางตัวก็บินหนี  บางตัวก็มุดดิน  ซ่อนตัวเองกับใบไม้บ้วง  เมื่อเก็บกันจนเป็นที่พอใจแล้ว  ก็จะดูคร่าว ๆ ว่าวันนี้ได้ด้วงกว่างเยอะไหม และก็เดินทางกลับบ้าน เพื่อมาคัดแยกด้วงกว่างอีกรอบ  ขี่มอร์ไซค์กลับทางเดิม ข้างทางบางจุดจะมีต้นมะค่าก็จะแวะดู  ส่วนมากก็จะไม่ค่อยเจอ หรือเจอแค่ไม่กี่ตัว เดินทางมาถึงบ้าน เอากะละมังมาเทด้วงกว่างที่เก็บรวม ๆ มาแยกอีกที  บางตัวเป็นกว่างแซมลักษณะดีก็แยกไว้  มีกว่างตัวใหญ่เขาสั้นก็มี  กว่างกิก็แยกขายกับกว่างอีลุ้ม หรือตัวด้วงกว่างเมียที่ตัวเล็ก ๆ ขายให้กับพ่อค้า แม่ค้า ที่มารับเหมาซื้อไปทอดขายตัวละบาท  รายได้จะอยู่ที่ 300-800 ต่อวัน ได้ด้วงกว่างมาเยอะก็ขายได้เยอะตามราคา กว่างโซ้ง แซม  ที่แยกไว้ก็จะแบ่งกันเอาไปเลี้ยง ให้เคดิดคนขึ้นเขย่าต้นมะค่าก่อนเลือกก่อนว่าจะเอาตัวไหนไปเลี้ยง เหลือจากนั้นก็แบ่งกันเลี้ยงคนละ 4-5 ตัว  ได้เยอะกว่านี้ก็แบ่งเยอะ  เริ่มเลี้ยงด้วงกว่างที่ได้มาใหม่ ตัดอ้อยมาปลอกอ้อยสัก 2 ปล้อง  จะปลอกแบบหมด หรือ เหลือเปลือกอ้อยไว้บ้างก็ตามสะดวก  หาเชือกมามัดเขาด้วงกว่าง  ทำหลักตอกกับอ้อยที่ปลอกเปลือกแล้ว  เอาเชือกที่มัดเขาด้วงกว่าง มัดติดกับหลักที่ตอกติดกับอ้อย  หาลวดมาทำเป็นที่แขวนอ้อยเป็นอันเสร็จ  และนำอ้อยไปแขวนไว้ที่ปลอดภัยจากพวงจิ้งจก มด แมลงที่จะมาก่อกวนด้วงกว่าง และทำร้ายขา เล็บ ของด้วงกว่าง

การเดินทางในป่า เพื่อหาด้วงกว่างชน

การเดินทางในป่า เพื่อหาด้วงกว่างชน

การเดินทางในป่า เพื่อหาด้วงกว่างชนนั้น ขึ้นอยู่กับสภาวะภูมิประเทศช่วงนั้น ๆ ป่าที่มีไผ่ซาง มีต้นไผ่เกิดใหม่ ๆ เป็นแหล่งอาหารชั้นดีของด้วงกว่าง เมื่อเดินทางไปถึงเป้าหมาย สายตาของนักล่าด้วงกว่างจะมองหาตามปลายยอดของต้นไผ่ซาง มองไปเรื่อย ๆ หลาย ๆ ปลายหน่อ พอเห็นก็จะรีบเข้าไปมองชัด ๆ ว่าเป็นด้วงกว่างชนิดไหน  กว่างโซ้ง หรือเปล่า กว่างกิ  หรือ อีลุ้ม  หากเป็นกว่างโซ้งก็จะจับตาจ้องไว้ให้ดี


หากต่อยไผ่ซางแล้วด้วงกว่างร่วงลงมา และหาไม่เจอจะผิดหวังมาก ๆ เสียอารมแบบสุด ๆ  การต่อยไผ่ซางจะใช้มือเขย่า หรือ จะใช้ด้านที่เป็นสันพร้าเคาะก็ได้ เน้นเคาะแรง ๆ เพื่อให้ด้วงกว่างหล่นลงมา การเคาะทำให้กว่างหล่นลง จะเห็นได้ว่ากำลังขาของด้วงกว่างที่เกาะอยู่ปลายหน่อไผ่ซาง หมดแรง
ไปสักพักแล้วร่วงลงดิน  บางตัวก็ไม่ยอมร่วงก็มี ด้วงกว่างพอร่วงลงดินเสร็จก็จะหาที่มุดลงดิน หรือ ตามใบหญ้าเพื่อซ่อนตัวอย่างรวดเร็ว โตยเฉพาะตัวเมีย  ส่วนตัวผู้ที่เป็น กว่างกิ จะไม่ค่อยไปไหน ยัง งง  งง  กับตัวเองว่าหล่นมาจากปลายหน่อไผ่ซางได้ยังไง กว่างโซ้งบางตัวก็แข็งแรงพอร่วงลงมาใกล้จะถึงพื้นดิน ก็กางปีกบินหนีไปที่อื่น ถ้ามองจับตาทันเห็น ไปเกาะที่ไหนก็จะตามไปจับมา มองไม่ทันก็หายเข้ากรีบเมฆ  อุปกรณ์ในการไปจับด้วงกว่างนั้นก็แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน  ส่วนมากที่ติดตัวไปก็จะมี พร้า  ตะกร้าพลาสติก แบบมีรูทั้งใบ มีฝาปิด เพื่อสะดวกในการเก็บด้วงกว่าง และยังรักษาขา  เล็บ ของด้วงกว่างไม่ให้เสียด้วย  หากเล็บและขาของกว่างโซ้งเสีย  นั่นหมายถึงราคาที่จะได้ขายแพง ลดลงหรือ ไม่มีคนเอา   บางคนก็ใช้ถุงเย็บทั้งใบ  มีซิปรูป  ชุดเดินป่า ประกอบด้วย  เสื้อชุดพรางของทหารหรือจะเป็นชุดอะไรก็ได้ รองเท้าเป็นบูทแบบสวมใส่ถึงขา  ผ้าคลุมหน้า  โม่งดำ  ถุงมือผ้า  และก็ม้าเร็ว  หรือมอเตอร์ไซค์นั่นเอง การหาด้วงกว่างจากต้นไผ่ซางก็จะหาจากต้นทางเข้าป่าแรก ๆ ไปจนสุดป่า กอต้นไผ่ซางสุดท้าย  ปริมาณด้วงกว่างที่หาได้จาก หน่อไผ่ซางจะเยอะมาก หากยังไม่มีคนไปหาก่อนเราในแต่ละวัน  ด้วงกว่างที่ได้จะเป็น กว่างกิ  กว่างอีลุ้ม  เป็นส่วนมาก  กว่างแซม  และก็กว่างโซ้ง  ซึ่งจะได้ไม่มาก  มีไม่เยอะ พักกันก่อน 1 วัน แล้ววันพรุ่งนี้ เราจะเดินทางไปหาด้วงกว่างกันที่ต้นมะค่าริมถนน

พัฒนาสายพันธุ์กว่างชน Beetle Development Species

พัฒนาสายพันธุ์กว่างชน Beetle Development Species





ฤดูกว่างชนมาถึงแล้ว เข้าเดือนสิงหาคมของทุกปี ช่วงต้นเดือนด้วงกว่าง เริ่มทยอยออกจากโพรงดิน หลังจากฟังตัวเป็นดักแด้นานหลายวัน ส่วนมากเริ่มต้นเดือนจะมีแต่ก้วงกว่าง ตัวเล็ก ๆ ออกมาก่อน กว่างกิ กว่างอีลุ้ม ซึ่งจะถูกเก็บมาทำเป็นอาหารซะส่วนใหญ่ ต้มเค็ม  ทอดแกล้มเบียร์  จี่  เอาตำกับน้ำพริก รสชาดของด้วงกว่างอร่อยเหาะเลยที่เดียว ส่วนราคาตามท้องตลาดก็มีแม่ค้า พ่อค้า แมลงทอดมาสั่งเป็นออเดอร์ไว้ มีเท่าไรรับหมด ราคาตัวล่ะ 1 บาท ไปถึง 2 บาท แนวโน้มของราคาก็มีส่วนที่จะเพิ่มขึ้นพอ ๆ กับ จี้กุ่ง เลยทีเดียว ด้วงกว่างจะถูกนำไปทอดขาย 3-4 ตัว 10 บาท ตามร้านต่าง ๆ  ช่วง 1-3 เดือนสามารถสร้างมูลค่าให้กับชาวบ้านที่ออกไปจับด้วงกว่างเพื่อมาขาย  ได้หลายหมื่นบาท  ไม่เฉพาะด้วงกว่างตัวเล็กที่จับมาได้ ปลายเดือนสิงหาคมประมาณวันที่ 20 ด้วงกว่างตัวใหญ่เริ่มออกจากโพรงดักแด้  ออกมาเพื่อหากินน้ำเลี้ยงจากพืช ต้นไม่ต่าง ๆ ต้นมะค่า  ต้นไผ่ซาง  ต้นลำใย  ต้นคาม  ต้นเถาวัล  ต้นยางพารา  ต้นหนามมะยะราบ  ต้นไผ่รวก  ต้นข้าวโพดหวาน  ต้นหางนกยูง  ด้วงกว่างจะกินน้ำเลี้ยง จากก้านต้นไม้พวกนี้  ต้นตะกูลไผ่ก็จะกินตรงปลายไผ่เป็นหน่ออ่อน ๆ  ส่วนลำใยก็จะกินตรงเมล็ดลำไย ชาวบ้านจะออกหาด้วงกว่างตั้งแต่เช้า ๆ สักตี 5 จะเริ่มออกจากบ้าน ไปยังจุดเป้าหมายของตัวเองเพื่อจะไปเจอความหวังที่ตั้งใจไว้  "วันนี้เราต้องได้กว่างโซ้ง สัก 2-3 ตัว" ความคิด ณ เมื่อวาน ที่ตั้งเป้าไว้ หากออกจากบ้านช้าไป ก็จะไปหาด้วงกว่าง ซ้อนทับคนที่เขาไปก่อนแล้ว  และก็จะไม่ได้อะไรติดมือเลยเขาเก็บไปก่อนหน้าหมด  ก็ต้องย้ายสถาณที่ใหม่ในการหาด้วงกว่าง  ส่วนบริเวณที่หาด้วงกว่างนั้นก็จะเป็นที่ประจำทุก ๆ ปี ที่เคยไปเก็บด้วงกว่าง และจะมีที่ใหม่ ๆ มาเสมอ หากไปเจอต้นพืชที่ด้วงกว่างกิน ส่วนมากคนที่ไปเจอแหล่งดีดี เขาจะไม่บอกกัน ซุ่มไว้คนเดียว โอกาสที่เขาจะได้กว่างโซ้งนั้นมีมาก